เมนู

ที่เราคิดแล้ว ๆ, เราจะต้องการอะไรด้วยความเป็นสมณะ" ดังนี้แล้ว
จึงทิ้งพัดก้านตาล ปรารภเพื่อจะหนีไป.

พระศาสดาตรัสถามเหตุที่เกิดขึ้น


ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย ไล่ตามจับภิกษุนั้นพา
มายังสำนักพระศาสดา. พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว
ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาทำไมกัน ?" พวกเธอ ได้
ภิกษุรูปหนึ่งหรือ ?"
พวกภิกษุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์พาภิกษุหนุ่ม
รูปนี้ ซึ่งกระสัน (จะสึก ) แล้วหลบหนี มายังสำนักพระองค์.
พระศาสดา. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ ? ภิกษุ.
พระสังฆรักขิต. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ภิกษุ เธอทำกรรมหนักอย่างนั้น เพื่ออะไร ? เธอ
เป็นบุตรของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ผู้ปรารภความเพียร บวชใน
ศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้เช่นเรามิใช่หรือ ? ไม่ได้อาจให้เขาเรียกตนว่า
' พระโสดาบัน' ' พระสกทาคามี, ' พระอนาคามี หรือ ' พระอรหันต์;'
ได้ทำกรรมหนักอย่างนั้นเพื่ออะไร ?
พระสังฆรักขิต. ข้าพระองค์กระสัน ( จะสึก) พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เพราะเหตุไร ? เธอจึงกระสัน (จะสึก).
พระสังฆรักขิตนั้น กราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดแด่พระศาสดาจำเดิม
แต่วันที่ตนได้ผ้าวัสสาวาสิกสาฎก จนถึงเอาพัดก้านตาลตีพระเถระแล้ว
กราบทูลว่า " เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์จึง (คิด) หลบหนีไป
พระเจ้าข้า."

สำรวมจิตเป็นเหตุให้พ้นเครื่องผูกของมาร


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " มาเถิดภิกษุ เธออย่าคิดไปเลย,
ธรรมดาจิตนี่มีหน้าที่รับอารมณ์ แม้มีอยู่ในที่ไกล, ควรที่ภิกษุจัก
พยายามเพื่อประโยชน์แก่การพ้นจากเครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ"
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
4. ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.
"ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต อันไปในที่ไกล
เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชน
เหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูรงฺคมํ เป็นต้น (พึงทราบวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้ ) ก็ชื่อว่าการไปและการมาของจิต โดยส่วนแห่งทิศมีทิศบูรพา
เป็นต้น แม้ประมาณเท่าใยแมลงมุม ย่อมไม่มี, จิตนั้นย่อมรับอารมณ์
แม้มีอยู่ในที่ไกล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทูรงฺคมํ.
อนึ่ง จิต 7-8 ดวง ชื่อว่าสามารถเกิดขึ้นเนื่องเป็นช่อโดยความ
รวมกันในขณะเดียว ย่อมไม่มี, ในกาลเป็นที่เกิดขึ้น จิตย่อมเกิดขึ้น
ทีละดวง ๆ, เมื่อจิตดวงนั้นดับแล้ว, จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นทีละดวงอีก
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกจรํ.
สรีรสัณฐานก็ดี ประเภทแห่งสีมีสีเขียวเป็นต้นเป็นประการก็ดี
ของจิต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อสรีรํ.